A His-story of SEA: Iron Sharpen Iron

เหล็กฝนเหล็ก มนุษย์ฝนมนุษย์ จากเทคโนโลยียุคเหล็กสู่ตำนานของชาว Khasi เมื่อเทพแห่งการช่างเบื่อมนุษย์ ขี่ว่าวกลับสวรรค์ ทิ้งชาวโลกไว้ให้ไฝว้กับงูยักษ์


เหล็ก เป็นโลหะที่แข็งและเหนียว เหมาะสำหรับใช้ทำชุดเกราะและอาวุธ เพราะสามารถตีและฝนให้เกิดความแหลมคมได้ดีกว่าสำริด ทำให้เทคโนโลยีของมนุษย์ก้าวหน้าไปอีกขั้น สู่ยุคสมัยที่เราเรียกกันว่า ยุคเหล็ก (Iron Age)

นักประวัติศาสตร์กระแสหลักสันนิษฐานกันว่า จุดเริ่มต้นของยุคเหล็กมีความเชื่อมโยงกับการล่มสลายของอารยธรรมบริเวณชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ Mycenean, Hittite และ Assyrian รวมทั้งการเสื่อมอำนาจของ New Kingdom Egypt อันเกิดจากภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ และการรุกรานของชาว Aramean และ Sea People ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ศิลปะวิทยาการถดถอย ส่งผลกระทบต่อเส้นทางการค้าทองแดงและดีบุก อันเป็นวัตถุดิบสำคัญของเครื่องมือสำริด

ทางเลือกรองลงมาในการประดิษฐ์เครื่องมือและอาวุธจึงตกเป็นของเหล็กตั้งแต่ 1,200 BCE เป็นต้นมา ซึ่งการถลุงและหลอมเครื่องมือเหล็กเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ราว 2,500 BCE แล้ว อย่างไรก็ตาม การประดิษฐ์เครื่องมือสำริดยังคงดำรงอยู่มาตลอด ไม่ได้หายสาบสูญไปจากประวัติศาสตร์

เทคโนโลยีเหล็กแพร่หลายจากเมดิเตอร์เรเนียนไปยังเอเชียจากตะวันตกสู่ตะวันออก แต่ในซีกโลกตะวันออก ดูจะไม่ได้มีนัยยสำคัญอะไรเกี่ยวกับความแตกต่างของยุคสำริดกับยุคเหล็กเหมือนทางตะวันตก เหล็กเริ่มเป็นที่นิยมในยุคจ้านกั๋ว (475-221 BCE) เป็นต้นมา ซึ่งแคว้นต่าง ๆ ทำสงครามกันอย่างบ้าคลั่ง จำเป็นต้อง upgrade ชุดเกราะและอาวุธให้มีความแข็งแกร่งอยู่เสมอ

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบเครื่องมือเหล็กควบคู่ไปกับเครื่องมือสำริดในแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง เช่น บ้านดอนตาเพชร เขาสามแก้ว ในประเทศไทย อายุราว 400-200 BCE รวมทั้งแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรม Sa Hunh (1,000-200 BCE) ตอนกลางของเวียดนาม ซึ่งมี trade network ไปยังฟิลิปปินส์ ไต้หวัน บอร์เนียว และคาบสมุทรมลายู

ส่วนในเอเชียใต้ ยุคเหล็กมีความสำคัญอย่างมาก ล่าสุดในปี 2019 พบมีดเหล็กอายุราว 2,400-1,800 BCE ในรัฐ Telangana ทางตอนใต้ของอินเดีย แต่โดยทั่วไปจะพบเครื่องมือเหล็กบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาทางภาคเหนือ โดยเฉพาะในรัฐ Uttara Pradesh หลักฐานเก่าแก่ที่สุดอายุราว 1,800 BCE ลงมา ซึ่งนักประวัติศาสตร์กระแสหลักเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกับการปรากฏตัวของอารยธรรมพระเวท (Vedic Civilisation)

ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ก่อนยุคพระเวท เอเชียใต้มีแหล่งโบราณคดียุค Neolithic เก่าแก่ที่สุดอายุราว 7,000-2,500 BCE ที่ Mehrgarh ประเทศปากีสถาน ตามด้วยอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ (Indus Valley Civilisation) ดำรงอยู่ในช่วง 3,300-1,300 BCE เช่น เมืองโบราณ Mohenjo-daro และ Harappa

เป็นเวลานานหลายทศวรรษที่นักประวัติศาสตร์-โบราณคดีไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ประชากรของอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุคือชนชาติใดกันแน่ ในระยะแรกสันนิษฐานกันว่าเป็นชาว Dravidian หรืออาจเป็น Austroasiatic (โดยเฉพาะ Munda) จนกระทั่งปี 2000s เป็นต้นมา การศึกษาด้าน genetic และ linguistic ก้าวหน้าขึ้น

จากงานวิจัยของ Vasant Shinde, Vagheesh M. Narasimhan และชาวคณะระบุว่า Genome ของโครงกระดูกมนุษย์ที่พบในอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ 50-98% มีส่วนผสมของ Iranian farmers-related ซึ่งน่าจะอพยพมาจากเทือกเขา Zagros ในอิหร่านราว 5,400-3,700 BCE และ 2-50% เป็นของ South Asian Hunter-gatherers ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกับชาว Andamanese

Iranian farmers-related
นี้ไม่ได้หมายถึงชาวอิหร่านในปัจจุบัน และไม่ใช่ farmer ตามชื่อที่เรียก เป็น hunter-gatherers ไม่ทราบภาษาที่ใช้ แต่มีความเกี่ยวข้องทาง genetic กับผู้คนในสังคมกสิกรรมยุค Neolithic ในอิหร่าน อพยพมายังลุ่มน้ำสินธุก่อนจะรู้จักการเพาะปลูกในภายหลัง

ส่วนชาว Indo-Aryan ในอารยธรรมพระเวทสืบเชื้อสายมาจากผู้พูดภาษา Indo-European ซึ่งเป็นภาษาตระกูลใหญ่ที่สุดในโลก มีความเป็นมายาวนานและซับซ้อน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เชื่อกันว่าคนกลุ่มนี้มีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขา Caucasus (อาร์เมเนีย จอร์เจีย อาเซอร์ไบจัน และบางส่วนของรัสเซีย) เป็นที่มาของคำว่า Caucasian race หรือ คนผิวขาว

แต่ทุกวันนี้อิทธิพลของ Woke กล้าแกร่งมาก แนวคิดเรื่อง race จึงโดนตัดตกไป แต่ใช่ว่าทฤษฎีนี้จะไม่มีความเป็นได้อยู่เลย จึงถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่ในยุค 90s และ 2010s เรียกว่า Armenian hypothesis หรือ Near Eastern model เสนอว่า Indo-European homeland น่าจะอยู่บริเวณเทือกเขา Caucasus ตอนใต้ ตะวันออกของ Anatolia (ตุรกี) และตอนเหนือของ Mesopotamia ราว 5,000-4,000 BCE

อีกทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบันคือ Revised Steppe theory หรือ Kurgan hypothesis สันนิษฐานกันว่า Indo-European homeland อยู่บริเวณทุ่งหญ้า Pontic ซึ่งกินบริเวณกว้างใหญ่ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทร Balkan ตอนเหนือของทะเลดำ (Black Sea) และทะเลสาบ Caspian ไปจนจรดชายแดนตะวันตกของคาซัคสถาน

จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีบริเวณลุ่มแม่น้ำ Volga ตอนกลางในวัฒนธรรม Samara และ Khvalynsk กลุ่ม Proto-Indo-European น่าจะเริ่มก่อตัวในช่วง 4,500 BCE เริ่มกระจายตัวไปตาม Pontic Steppe พร้อมกับวัฒนธรรม Yamnaya ราว 3,300-2,600 BCE และอพยพไปยังยุโรปและเอเชียกลางต่อไป จนเกิดการ admixture และ replacement ทางภาษากับเจ้าถิ่นเดิม

ใครสนใจเรื่องนี้ อ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ The Horse, the Wheel, and Language: How Bronze-Age Riders from the Eurasian Steppes Shaped the Modern World โดย David W. Anthony นักมานุษยวิทยาอเมริกัน อ้างอิงจาก genetic research เป็นหลัก

ชาว Indo-European สายหนึ่งเริ่มมีวิวัฒนาการทางภาษาเป็น Proto-Indo-Iranian ในวัฒนธรรม Sintashta บริเวณเทือกเขา Ural ตอนใต้ราว 2,400-1,800 BCE มีเทคโนโลยีที่สำคัญคือ รถม้าศึก (chariot) ซึ่งม้าเป็น domestic animal ในทุ่งหญ้า Steppe อยู่แล้ว ต่อมารถม้าศึกก็แพร่หลายไปยังตะวันออกกลาง อียิปต์ และยุโรปอย่างรวดเร็ว

แต่ทั้งนี้ ล้อ และ เกวียน (cart) นั้นมีใช้กันในหลายวัฒนธรรมตั้งแต่ก่อนที่ชาว Indo-European จะเดินทางไปถึงหรือ make contact ยกตัวอย่างเช่น หลักฐานจากรูปปั้นเกวียนเทียมวัวในอายธรรมลุ่มน้ำสินธุ อายุราว 2,000 BCE

ชาว Indo-Iranian เริ่มอพยพสู่เอเชียกลางในช่วง 2,000-1,800 BCE ปรากฏร่องรอยในวัฒนธรรม Andronovo และได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมท้องถิ่นคือ Bactria-Margiana (2,200-1,700 BCE) บริเวณตอนใต้ของอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน และอัฟกานิสถานตอนเหนือ

จากนั้นในช่วง 1,800-1,600 BCE จึงแตกออกเป็นสองสาย Iranian เข้าสู่ที่ราบเปอร์เซีย และ Indo-Aryan ข้ามเขา Hindu Kush สู่รัฐ Punjab ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อในคัมภีร์พระเวทยุคแรกจึงมีความคล้ายคลึงกับคัมภีร์ Avesta ในศาสนา Zoroaster อยู่มาก โดยคำว่า Iran เป็นภาษาเปอร์เซียใหม่ มาจากคำว่า Aryan ในภาษาเปอร์เซียเก่านั่นเอง

ปัจจุบันมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งปฏิเสธทฤษฎีการอพยพของชาว Indo-Aryan ว่าไม่ได้มาจากไหน อยู่ที่นี่ ที่ภารตะวรรษ เรียกว่า Indigenous Aryans Theory หรือ Out of India Theory โดย point ว่าชาว Indo-Aryan มีจุดกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำสินธุ ก่อนอพยพไปยังตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และยุโรป ซึ่งกลับตาลปัตรแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน โดยมากอาศัยการตีความเนื้อหาในคัมภีร์ฮินดูเสียใหม่ เช่น พระเวท ปุราณะ และอีติหาส (รามายณะและมหาภารตะ)

ก่อนจะห่างไกลไปจาก Southeast Asia มากกว่านี้ ขอกลับมาที่เรื่องยุคเหล็กกันก่อน เทคโนโลยีเหล็กในอนุทวีปอินเดียถือว่ามีความเจริญก้าวหน้ามาก ในช่วง 500 BCE เป็นต้นมาที่เริ่มมีการติดต่อกับกรีก-โรมัน เหล็กเป็นสินค้าส่งออกสำคัญไปยังตะวันออกกลางและยุโรปโดยเฉพาะ wootz steel ซึ่งชาวอาหรับนำมาพัฒนาจนเป็นที่รู้จักกันในนาม เหล็กดามัสกัส ในภายหลัง

ส่วนทางตะวันออก นอกจากการค้าทางทะเลสู่ Southeast Asia และจีน เทคโนโลยีเหล็กยังเผยแพร่ไปยังผู้คนในดินแดนหลังเขาอย่าง Khasi Hills รัฐ Meghalaya ราว 2,000 ปีก่อน นับเป็นแหล่งโลหะกรรมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบหลักฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

Khasi
และ Jaintia (Pnar) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ Austroasiatic ที่ห่างไกลโดดเดี่ยวจากกลุ่มอื่น แวดล้อมไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ Tibeto-Burman เช่น Bodo-Garo, Naga, Kuki-Chin และ Meitei จึงมีวัฒนธรรมบางอย่างคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีอัตตลักษณ์สำคัญเป็นของตนเอง เช่น ระบบ matrilineal system ซึ่งลูกสาวคนเล็กในครอบครัวเป็นทายาทที่ได้รับมรดกมากที่สุด แต่ตำแหน่งหัวหน้าที่เรียกว่า Syiem หรือ Siem โดยมากก็เป็นผู้ชาย

วัฒนธรรม Megalith พบเห็นได้ทั่วไปใน Meghalaya เช่นเดียวกับรัฐทางตะวันออกซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของชาว Munda (อ่านรายละเอียดได้ในบทที่ 3 Sacred Stones) ชาว Khasi มีตำนานและนิทานพื้นบ้านมากมายหลายเรื่องมุ่งอธิบายความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ K. U. Rafy ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ Folk-Tales of the Khasi อ่านฟรีได้ที่นี่
https://www.gutenberg.org/files/37884/37884-h/37884-h.htm

ผู้เขียนคัดเอาเฉพาะเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเหล็กมาเล่าไว้ในที่นี้ โดยชาว Khasi เชื่อว่าเทพผู้สร้างเป็นเทพสูงสุดเรียกว่า U Blei Nongthaw (ในหนังสือเรียกว่า Great God ไม่เอ่ยชื่อ) ในยุคแรกเริ่ม มนุษย์ยังขาดความรู้ ทำอะไรไม่ค่อยเป็น เทพสูงสุดจึงส่ง U Biskurom เทพผู้หล่อเหลาเยาว์วัย ลงจากสวรรค์มาช่วยเหลือมนุษย์

U Biskurom
สอนมนุษย์ประดิษฐ์สิ่งของ จำแนกแร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งสอนให้รู้จักการถลุงและหลอมเหล็กเป็นเครื่องมือใช้สอย แต่พวกมนุษย์เรียนรู้ได้ช้ามาก U Biskurom จึงต้องอยู่บนโลกนานกว่าที่คิด จนกระทั่งลืมวิธีกลับสวรรค์ไปเลย

มนุษย์เห็นว่า U Biskurom ทำอะไรได้ดีและรวดเร็วไปหมด จึงเริ่มถือโอกาสเอาเปรียบ ขอร้องให้ทำงานยาก ๆ แทนพวกตน จนกระทั่งวันหนึ่ง มนุษย์ปั้นรูปคนขึ้นมาจากโคลน แล้วขอให้ U Biskurom ชุบโคลนให้มีชีวิตขึ้นมา เขาไม่รู้วิธีจึงปฏิเสธไป ผู้คนก็โมโห มู่ลี่ ยี้ ๆ ว้าย ๆ ขู่ว่าจะจับเขาขังไว้จนกว่าจะยอมทำ

U Biskurom
เหนื่อยหน่ายกับพวกมนุษย์เต็มที จึงแกล้งบอกว่า เขาต้องกลับไปเรียนวิชาชุบชีวิตจากสวรรค์ก่อน แล้วค่อยกลับมาทำให้ดู มนุษย์กลัวว่าเขาจะหนีกลับไปเฉย ๆ แต่เมื่อนึกถึงความรู้ที่ได้กลับมาก็น่าลองเสี่ยง จึงยอมตกลง

แต่ทว่า U Biskurom ลืมวิธีกลับสวรรค์ไปแล้ว จึงขอแรงมนุษย์ให้ช่วยประดิษฐ์ว่าวขนาดใหญ่ โยงด้วยเชือกยาว เมื่อมนุษย์ชักว่าวจนติดลม U Biskurom ก็ขี่ว่าวขึ้นไปถึงสวรรค์ มนุษย์ยังไม่ยอมปล่อยเชือก กลัวว่าเขาจะไม่กลับมา U Biskurom จึงเขียนเคล็ดวิชาไว้บนว่าวแทน แล้วไม่กลับไปยังโลกมนุษย์อีกเลย

เมื่อมนุษย์ได้เคล็ดวิชามาก็ดีใจ แต่ไม่มีใครสามารถอ่านได้รู้เรื่องเลยแม้แต่คนเดียว พวกเขาจึงพากันตะโกนด่าทอขึ้นไปบนฟ้า หวังว่าคำด่าจะฆ่า U Biskurom ให้ตายได้ เทพหนุ่มยิ้มอ่อนในความโง่เง่าของมนุษย์ และแกล้งให้เต่าตุ่นขึ้นไปอีกด้วยการปล่อยฝนสีแดงลงมา มนุษย์ก็เข้าใจว่านั่นเป็นเลือดของ U Biskurom ที่ถูกคำด่าของพวกเขาทำร้าย จึงพากันดีอกดีใจยกใหญ่

เพราะความ endless stupidity นี่เองที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถสร้างสรรค์อะไรที่ perfect เหมือนงานเทพได้สักอย่าง ชื่อ U Biskurom นี้เพี้ยนมาจาก วิศวกรรม (Vishvakarma) นายช่างใหญ่แห่งเทวะในตำนานฮินดู แสดงให้เห็นนัยยการรับเอาอารยธรรมมาจากชาว Indo-Aryan ในลุ่มน้ำคงคานั่นเอง

ตำนานที่มีชื่อเสียงอีกเรื่องคือเรื่องของงูยักษ์นามว่า U Thlen เรื่องมีอยู่ว่า นานมาแล้วมนุษย์กับเทพ*ต่างคนต่างอยู่ไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกัน แต่มีเทพธิดานางหนึ่งชื่อ Ka Kma Kharai เป็นลูกสาวของ U Mawlong Siem เทพแห่งเขา Mawlong นางชอบแปลงกายท่องเที่ยวปะปนไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ความงามของนางเป็นที่เลื่องลือในหมู่เทพ จึงมีผู้มาสู่ขอมากมาย แต่นางไม่ถูกใจสักคน

*
ชาว Khasi เรียกว่า Blei มีความหมายรวมถึง ภูติ ผี วิญญาณ มักอาศัยตามป่าเขา

เนื่องจากนางมีชายที่หมายปองอยู่แล้วคือ เทพแห่ง Umwai แต่พ่อของนางไม่ปลื้มชายหนุ่มผู้นี้ ทั้งสองจึงลักลอบคบหากัน จนกระทั่ง Ka Kma Kharai ตั้งครรภ์ ด้วยความกลัวว่าพ่อจะรู้ นางจึงหลบหนีไปอาศัยกับลุง (พี่ของแม่) ที่ถ้ำ Pomdoloi และคลอดลูกออกมาเป็นงูยักษ์นามว่า U Thlen ทารกประหลาดนี้ไม่กินนม แต่ชมชอบกินเลือดสด ๆ จึงจะหายงอแง

U Thlen
ไม่สามารถแปลงกายได้เหมือนแม่ แต่สามารถย่อขยายร่างกายได้ตามใจนึก Ka Kma Kharai มักแปลงกายเป็นหญิงสาวคอยล่อลวงคนเดินทางด้วยเพชรนิลจินดามาเป็นเหยื่อสังเวยแก่ลูกของนาง จนกระทั่ง U Thlen เติบใหญ่ จึงเริ่มออกล่าเหยื่อด้วยตัวเอง สร้างความเดือดร้อนแก่มนุษย์ จนต้องทำพิธีขอความช่วยเหลือจากเทพ

U Mawlong Siem
ผู้เป็นตาเรียกเหล่าเทพมาระดมพายุกะโหลกในการประชุมสภา Durbar เพื่อหาทางออกให้เรื่องนี้ จนได้ข้อสรุปกันว่า หาก U Thlen จับเหยื่อได้สองคน ให้ปล่อยไปคนหนึ่ง อีกคนต้องถูกสังเวย หากจับได้สิบคน ให้ปล่อยไปห้า กฎนี้ช่วยทุเลาปัญหาไปนิดหน่อย แต่มนุษย์ก็ยังเดือดร้อนอยู่ดี จึงร้องเรียนต่อเทพอีกครั้ง

การประชุมสภา Durbar วาระสองจึงเริ่มขึ้น แต่ไม่มีเทพองค์ใดกล้าต่อกรกับ U Thlen ยกเว้น U Suidnoh ภูติลี้ลับแห่งป่า Laitryngew ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่กลับอาสาช่วยเหลือมนุษย์ เขาแนะนำให้มนุษย์ทำพิธีขอพรจาก U Lei Shillong เทพผู้มีอำนาจมากแห่งเขา Shillong (เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดใน Meghalaya) เมื่อได้รับพรให้โชคดีมีชัยก็ได้เวลาเผชิญหน้ากับ U Thlen

U Suidnoh
มุ่งหน้าสู่ถ้ำ Pomdoloi พร้อมเนื้อหมูและแกะ ทำทีเป็นว่ามาส่งเครื่องสังเวยแก่ U Thlen โดยเจาะรูเป็นปล่องเหนือถ้ำ แล้วหย่อนเนื้อลงไปสู่ปากของเจ้างูยักษ์โดยตรง ทำให้ U Thlen ไม่ทราบว่าเป็นเนื้อสัตว์ ไม่ใช่เนื้อมนุษย์ เมื่อมีคนมาส่งอาหารทุกวันแบบนี้ U Thlen ก็เริ่มขี้เกียจ ไม่ออกจากถ้ำไปล่ามนุษย์อีก

แต่วิธีนี้ยังไม่ทำให้มนุษย์วางใจ หากวันใดขาดแคลนเนื้อหมูเนื้อแกะ U Thlen คงออกล่าอีกครั้ง U Suidnoh จึงตัดสินใจขอวามช่วยเหลือจาก U Ramhah ยักษ์ใหญ่จอมพลังให้ช่วยสร้างโรงเหล็กขึ้นใกล้กับถ้ำ เพื่อตีคีมเหล็กขนาดใหญ่อันหนึ่ง สำหรับคีบก้อนเหล็กที่เผาจนร้อนแดง

วันรุ่งขึ้น U Suidnoh ก็ขึ้นไปยังปล่องถ้ำ ร้องเรียก U Thlen ให้มารับอาหารตามปกติ แต่คราวนี้เขาหย่อนก้อนเหล็กร้อนลงล่วงลำคอของงูใหญ่ U Thlen ดิ้นรนด้วยความเจ็บปวด จนแผ่นดินไหวสะเทือนเลือนลั่นอยู่นาน จนกระทั่งสงบลงพร้อมกับความตายของมัน

U Suidnoh
ตีกลองป่าวร้องชัยชนะ นับแต่นั้นมา มนุษย์ก็นับถือบูชาเขาในฐานะวีรบุรุษ มนุษย์ปรึกษากันว่าจะทำยังไงกับศพของ U Thlen กันดี และได้ข้อสรุปว่า ควรเอามากินไม่ให้เหลือซาก จึงช่วยกันลากร่างขนาดมหึมาออกจากถ้ำ แล้วผ่าเป็น 2 ซีก แบ่งให้ชาวที่ราบทางตะวันออกส่วนหนึ่ง อีกส่วนแบ่งให้ชาว Khasi และชาวที่ราบสูงทางตะวันตก

ชาว Khasi ไม่คุ้นเคยกับการกินเนื้อสัตว์เลื้อยคลานจึงกินไม่หมด ชาวบ้านกลัวว่าซากของ U Thlen ที่เหลือจะกลับมามีชีวิตในภายหลัง จึงตัดสินใจรวบรวมมาเผา แต่มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง แอบนำเนื้อชิ้นหนึ่งกลับบ้านไปให้ลูกชายที่ไม่ได้มาร่วมงานเลี้ยง โดยซ่อนไว้ในหม้อ เมื่อลูกชายกลับมาบ้านและเปิดฝาหม้อดูกลับไม่เห็นชิ้นเนื้อ พบแต่งูน้อยตัวหนึ่ง

ขณะที่สองแม่ลูกกำลังจะตีงูให้ตาย มันก็กล่าวขึ้นว่า มันคือ U Thlen ที่แบ่งเซลล์มาเกิดใหม่ และสามารถมอบความร่ำรวยให้สองแม่ลูกได้ หากยอมให้มันอาศัยหลบภัยในบ้านนี้ ทั้งสองยอมตกลงด้วยความโลภ เวลาผ่านไปจนกระทั่ง U Thlen ฟื้นคืนพลัง มันก็เรียกร้องเหยื่อสังเวยจากสองแม่ลูก ไม่งั้นจะกินให้หมดทั้งครอบครัว ทั้งสองไม่มีทางเลือก จึงต้องออกไปฆ่าคนเพื่อนำมาสังเวย U Thlen

ไม่เพียงแค่ครอบครัวนี้ U Thlen ยังออกไปล่อลวงบ้านอื่น ๆ ให้หาเหยื่อมาสังเวยมัน แลกกับความมั่งคั่ง ผู้คนที่ตกเป็นทาสและบูชา U Thlen ต่อมาถูกเรียกว่า Nongshohnoh เป็นนักล่ามนุษย์ สร้างความหวาดกลัวต่อชาว Khasi มาจนถึงปัจจุบัน

ตำนานของชาว Khasi ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมาก เช่น เรื่องราวภาคต่อของยักษ์ใหญ่ U Ramhah ที่มาช่วยสร้างโรงตีเหล็ก แต่เกรงจะยาวเกินเกินไป ใครสนใจอ่านได้จาก link ด้านบนครับ

ขอทิ้งท้ายด้วย อศาสนสุภาษิต (ตรงไหน) จาก Old Testament บทนี้
Iron sharpens iron, and one man sharpens another.
เหล็กฝนเหล็กให้แหลมคมฉันใด คนย่อมขัดเกลาคนให้หลักแหลมฉันนั้น
- Proverbs 27:17

ในภาพประกอบคือ U Suidnoh กำลังไฝว้กับ U Thlen แต่ตามตำนานไม่ได้บู๊กันแบบนี้

Comments